Blog

 

 

คุณรู้หรือไม่!! ว่าพระพุทธเจ้าสอนให้เห็นคุณค่าของ“ความรวย” 

.

จากบทความก่อนๆที่ผมได้ชี้ให้เห็นแล้วว่าพอเพียงไม่ได้สอนให้จน แต่ความลำบากและความจนนั่นละคือสาเหตุของความไม่พอเพียง ซึ่งจะต้องเติมเต็มให้พอให้ได้ แล้วนั่นละจึงเป็นความพอเพียงอย่างแท้จริง ขอทวนสักหน่อย

.

กระบวนการ(Process) ของ”พอเพียง”

.

“เมื่อไม่พอ >>

ต้องพยายามเติมให้จนเพียงพอ >>

เมื่อพอแล้ว ต้องไม่เกินตัวจนเดือดร้อน >>

ขจัดความเกินตัวด้วยการเรียนรู้พัฒนา>>

เมื่อเรียนรู้จนเติมเต็ม >>

ก็ลงมือทำให้มากจนกว่าจะพอเพียง”

.

จะเห็นว่านี่คือวัฏจักรหลักการพัฒนาชีวิตแบบไม่มีที่สิ้นสุด เปรียบเหมือนกับวงจรแห่งคุณภาพ

.

PDCA (วงจรคุณภาพ) ซึ่งทฤษฎีนี้คือการปรับปรุงพัฒนาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เป็นระบบเดียวกับพอเพียง

.

1) P= Plan คือ การวางแผน หมายถึงการใช้ชีวิตตามแบบแผนและมีเป้าหมายที่ชัดเจน

.

2) D= DO คือ การปฏิบัติตามแผน เพื่อให้ชีวิตไปถึงเป้าหมาย

.

3) C= Check คือ การตรวจสอบว่าการปฏิบัติเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ และต้องพัฒนาเรื่องอะไร และมีอะไรให้ต้องแก้ไข

.

4) A= Act คือ การพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขเพื่อ ยกระดับให้สูงยิ่งๆขึ้นไป

.

และ จาก Act ก็วนไปใหม่ที่ Plan ทำเป็น วัฏจักรแบบนี้เรื่อยๆชีวิตคุณก็จะก้าวหน้าแบบไม่มีที่สิ้นสุดอย่างยั่งยืน

.

ฉะนั้น “พอเพียง” ต้องอัพเกรดพัฒนาตัวเองทำให้คู่ควรกับเป้าหมายที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามความเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคม

.

“ถ้าขาดต้องเติม ถ้าเกินต้องหยุด ถ้าหยุดต้องพัฒนา

ถ้าพัฒนาแล้ว ก็ลุยต่อจนกว่าจะพอเพียง”

.

ซึ่งใครอยากเรียนรู้เรื่องนี้ ในการประยุกต์ใช้เป็นเข็มทิศให้ชีวิตและธุรกิจ ผมมีบทความเรื่อง “ศาสตร์พระราชา” ที่ผมได้ออกแบบประยุกต์ใช้สำหรับโมเดลชีวิต(Life Model) และโมเดลธุรกิจ(Business Model) ซึ่งสามารถหาในเพจนี้ได้เลย เพราะผมต้องการให้คนไทยสามารถน้อมนำศาสตร์พระราชาไปพัฒนาชีวิตและธุรกิจได้อย่างแท้จริง ตามเป้าประสงค์ของพระองค์ที่ต้องการให้คนไทยสามารถอุ้มชูตัวเองได้อย่างยั่งยืน

.

แต่ผมเชื่อว่าอาจจะมีคนบางคนที่ยังคิดว่า”ทำไมต้องอยากรวย” ความรวยมันเป็นบาป การพูดถึงเงินคือเรื่องน่ารังเกียจ เราเป็นเมืองพุทธเรื่องเงินทองเป็นเรื่องของความโลภ อย่าไปยึดติด

.

ผมจึงจะขอชี้ทางสว่างให้คนคิดแบบนี้ได้ตื่นรู้ในบทความนี้

.

ก่อนเข้าเรื่องคำสอนของพระพุทธเจ้า ผมอยากให้คุณคิดตามว่าเงินเป็นเพียงของนอกกาย ไม่ได้สำคัญกับชีวิตจริงๆเหรอ

.

.

มีคนบอกว่า”ตายแล้วเอาเงินไปไม่ได้” ใช่มันคือเรื่องจริง!! แต่อย่าลืม เมื่อตายไป เงินก็ยังสามารถสร้างความมั่นคงให้บุตรหลาน และคนข้างหลังสืบทอดต่อไปได้ คนที่คิดแบบนี้แสดงว่าเป็นคนนึกถึงแต่ตนเองไม่ได้นึกถึงคนข้างหลังเลย เท่ากับว่าเป็นคนที่เห็นแก่ตัวชัดๆ!!

.

มีคนบอกว่า “เงินซื้อความรักไม่ได้” ใช่เรื่องจริง!! แต่อย่าลืม เงินมันสามารถซื้อปัจจัยที่ก่อให้เกิดความรักได้มากกว่าคนไม่มีเงินได้มหาศาล ยอมรับเถอะว่าดีแต่จนหาคู่ได้ยากกว่า ดีแล้วแถมยังรวย หรือเลวแถมจน กับเลวแต่รวย คุณจะยอมทนอยู่กับใครมากกว่ากัน ตอบ!! อันนี้คือหลักของเหตุและผลที่ชัดเจน อย่าไปคิดแบบโลกสวยมัววิ่งฟรุ้งฟริ้งในทุ่งลาเวนเดอร์อยู่เลย เพราะมันขัดแย้งกับกฏแห่งธรรมชาติของมนุษย์ !!

.

มีคนบอกว่า “เงินซื้อเวลาไม่ได้” ใช่เรื่องจริง!! แต่อย่าลืมว่าเงินช่วยให้เราประหยัดเวลาลงได้ เพราะถึงแม้เวลาของเราจะไม่สามารถเพิ่มได้ แต่การใช้เงินซื้อความสะดวกและย่นเวลาได้ ก็สามารถได้ใช้เวลาทำอย่างอื่นที่เราอยากทำได้มากขึ้นอย่างชัดเจน!!

.

มีคนบอกว่า “เงินซื้อชีวิตไม่ได้” ใช่เรื่องจริง!! แต่ถึงแม้ซื้อชีวิตไม่ได้ แต่ก็ช่วยยื้อชีวิตไว้ได้มากกว่าคนไม่มีเงิน เพราะเงินสามารถซื้อปัจจัยภายนอกที่ก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าคนไม่มีเงินได้ และเมื่อเจ็บป่วยคุณภาพในการรักษาย่อมดีกว่าคนไม่มีเงิน คนมีเงินจึงมีโอกาสรอดกว่าคนไม่มีเงินเสมอ

.

มีคนบอกว่า”เงินซื้อมิตรแท้ไม่ได้” ใช่เรื่องจริง!! แต่อย่าลืมว่าการมีเงินมันสามารถช่วยสร้างคอนเนคชั่นและโอกาสให้เราได้เจอเพื่อนที่ดีและกลุ่มสังคมดีๆ ได้มากกว่าคนไม่มีเงินเสมอ แม้อาจไม่ใช่มิตรแท้ และต่างใส่หน้ากากเข้าหากันก็จริง แต่หากเป็นมิตรที่ช่วยต่อยอดทางธุรกิจให้เราได้ ก็ถือว่าWin-Win

.

มีคนบอกว่า”เงินไม่สามารถซื้อการนอนหลับได้” ใช่เรื่องจริง!! แต่ลองคิดดู ตอนคุณไม่มีเงิน มันทำให้คุณข่มตาหลับได้ยากแค่ไหน ต่อให้นอนนับแกะเป็นหมื่นก็ยากจะหลับลงได้ เพราะมัวเป็นทุกข์กับเรื่องไม่มีเงิน

.

จริงแท้แน่นอนว่าเงินซื้อทุกอย่างไม่ได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าคนมีเงินมักมีโอกาสดีๆกว่าคนไม่มีเงินเสมอ นี่คือกฏแห่งความสมเหตุสมผล

.

สรุป!! คุณจะเห็นว่าเงินแม้ไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต แต่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิตล้วนมีเงินมาเกี่ยวข้องพัวพันแทบทั้งสิ้น

.

.

คราวนี้มาตอกย้ำความสำคัญของเงินด้วยคำสอนพระพุทธเจ้ากัน

.

พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า การทำตนให้บรรลุมี2ทางคือ

.

๑) การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุทางโลก = ประสบความสำเร็จในชีวิต ทั้งหน้าที่การงาน ครอบครัว และโภคทรัพย์

.

๒) การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุทางธรรม = จุดสูงสุดแห่งพระพุทธศาสนา มรรคผลนิพพาน

.

ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่าอย่างน้อยควรสำเร็จสัก1ทาง พระพุทธองค์จึง ชี้ให้เห็นว่าการบรรลุทางโลกได้ ต้องพยายามนำตนให้พ้นจากความยากลำบากให้ได้ เพราะหากสามารถบรรลุทางโลกได้ ก็จะมีจิตแน่วแน่ต่อการบรรลุทางธรรมได้ต่อไป เพราะหากไม่สามารถบรรลุทางโลกได้จิตก็ไม่สามารถหลุดพ้นจากความวิตกกังวลเรื่องเงิน เรื่องความเป็นอยู่ของครอบครัว ทำให้ยากนักที่จะบรรลุทางธรรม

.

พระพุทธองค์จึงทรงตำหนิความยากจนไว้ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ “อิณสูตร”

.

โดยพระองค์ตรัสไว้ว่า หนึ่งในความยากลำบากที่น่ากลัวที่สุดในการดำเนินชีวิตของคนคือ ความยากจน ความยากจนเป็นความลำบากทั้งกายและใจอย่างแสนสาหัสที่เกิดจากการไม่มีทรัพย์ ต่างก็ต้องทนทุกข์เพื่อให้มีชีวิตที่หลุดพ้นจากความจน เพื่อให้สามารถเลี้ยงดูตนและครอบครัวให้ผ่านพ้นไปได้

.

ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงไม่ทรงปรารถนาให้ใครเกิดมาเป็นคนยากจนพระองค์ทรงต้องการให้มนุษย์รื้อผังความจนออกไปจากชีวิตให้หมดสิ้น และทรงชี้โทษของความจนไว้ต่าง ๆ นานา รวมทั้งทรงพรรณนาถึงคุณของการแก้ปัญหาความจนอย่างถูกหลักวิชาไว้มากมาย ซึ่งหากกล่าวโดยย่อมี ๓ ประการดังนี้

.

๑. #พระพุทธองค์ทรงตำหนิความยากจนไว้ใน “#อิณสูตร

.

ในเรื่องการสร้างตัวสร้างฐานะ พระพุทธองค์ไม่ทรงห้ามชาวพุทธรวย แต่การรวยต้องรวยอย่างสุจริต ในทางตรงข้าม พระองค์ทรงห้ามยอมแพ้ต่อความยากจน โดยถึงกับทรงแจกแจงความทุกข์ของคนจนอย่างหมดเปลือก เพื่อให้เห็นโทษภัยของความยากจน จะได้สร้างตัวสร้างฐานะโดยไม่เกียจคร้าน ส่วนผู้ที่ตั้งหลักฐานได้แล้วจะได้ไม่ประมาท ดังปรากฏอยู่ในอิณสูตร ซึ่งพระพุทธองค์ทรงกล่าวถึงความจนไว้ว่า

.

“ความเป็นคนจนเป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก” และทรงอธิบายไว้ดังนี้

.

๑) ความจนเป็นทุกข์ของคนในโลกที่ยังครองเรือนอยู่

.

๒) คนจนเข็ญใจยากไร้ย่อมกู้หนี้ แม้การกู้หนี้ก็เป็นทุกข์ในโลก

.

๓) ครั้นกู้หนี้แล้วก็ย่อมต้องใช้ดอกเบี้ยแม้การต้องใช้ดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ในโลก

.

๔) คนจนเข็ญใจยากไร้ครั้นใช้ดอกเบี้ยแล้ว ไม่ให้ดอกเบี้ยตามกำหนดเวลา พวกเจ้าหนี้ย่อมตามทวงเขา แม้การถูกตามทวงหนี้ ก็เป็นทุกข์ในโลก

.

๕) คนจนเข็ญใจยากไร้ เมื่อถูกเจ้าหนี้ทวงแล้วยังไม่มีให้ พวกเจ้าหนี้ก็เลยติดตามแม้การถูกติดตามก็เป็นทุกข์ในโลก

.

๖) คนจนเข็ญใจยากไร้ถูกเจ้าหนี้ติดตามทัน ยังไม่ทันจะให้ พวกเจ้าหน้าที่ก็จับเขามาจองจำเสียแล้ว แม้การถูกจองจำก็เป็นทุกข์ในโลก

.

การที่พระองค์ทรงกล่าวเช่นนี้ เพราะต้องการเตือนสติให้ชาวพุทธทั้งหลาย “ไม่ประมาท” ในการดำเนินชีวิต คือ

.

๑) ให้กลัวความยากจน

๒) ให้ตั้งใจกำจัดความยากจนอย่างถูกวิธี

๓) ให้ป้องกันความยากจนข้ามภพข้ามชาติ

.

เพราะฉะนั้น เมื่อชาวพุทธมีสติระลึกนึกถึงอันตรายของความยากจนอย่างนี้แล้ว จะได้ไม่ประมาท ใครก็ตามที่ดำเนินตามหลักวิชานี้ ย่อมได้หลักประกันว่า นับแต่นี้ไป ตราบใดยังต้องเวียนว่ายตายเกิด ถือกำเนิดในวัฏสงสาร แม้ยังไม่อาจกำจัดกิเลส จนกระทั่งบรรลุธรรมเข้าพระนิพพาน แต่ก็จะไม่ตกระกำลำบาก ไม่ต้องพบกับความยากจนอีกต่อไปอย่างแน่นอน

.

.

๒. #พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นว่าความยากจน #บีบคั้นให้มนุษย์ทำความชั่วได้ง่าย

.

ชีวิตอยู่ได้ด้วยการใช้ปัจจัย ๔ หล่อเลี้ยง แต่เพราะความยากจนจึงทำให้มีชีวิตลำเค็ญเกิดความขัดสนในการแสวงหาปัจจัย ๔ความหิวและความกลัวตายจึงบีบคั้นให้จิตใจตกอยู่ในอำนาจความชั่วได้ง่าย เป็นเหตุให้แสวงหาทรัพย์โดยไม่คำนึงถึงความผิดชอบชั่วดี แม้ต้องปล้น จี้ ฆ่า ลักขโมย ขายตัวต้มตุ๋น หลอกลวง ค้าของผิดกฎหมาย ค้ายาเสพติดหรืออื่น ๆ เพื่อให้ได้ทรัพย์มา ก็ทำได้โดยไม่รู้สึกละอาย ผลสุดท้ายกลายเป็นคนมีนิสัยใจบาปหยาบช้า เพราะทนการบีบคั้นจากความยากจนไม่ไหว

.

.

๓. #พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า #ความรวยเป็นคุณูปการให้สร้างบุญได้ง่าย

.

ความรวยแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ

๑) ความรวยทางโลก เรียกว่า “โลกิยทรัพย์” คือ การมีทรัพย์สิน เงินทอง สมบัติพัสถานมากมาย และมีความสามารถใช้จ่ายทรัพย์นั้นได้อย่างมีความสุข

.

๒) ความรวยทางธรรม เรียกว่า “อริยทรัพย์” มี ๗ ประการ ได้แก่ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ ปัญญา

.

ความรวยจึงมิใช่สิ่งเลวร้ายแต่อย่างใดแต่เป็นความสุข ความปลื้มใจ เป็นลาภอันประเสริฐ ผู้ที่ปรารถนาความรวยสมควรที่จะวางเป้าหมายไว้ที่การแสวงหาทั้งโลกิยทรัพย์และอริยทรัพย์มาไว้เป็นของตน

.

ในทางพุทธศาสนาสอนไว้ว่า ความรวยหรือทรัพย์ที่ตนเองมีนั้น มีไว้เพื่อประโยชน์ในส่วนต่าง ๆ เรียกว่า โภคอาทิยะ๕ คือ

.

เมื่อมีทรัพย์สิน บุคคลควรนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย

๑.การใช้จ่ายทรัพย์นั้นเลี้ยงตนเอง เลี้ยงดูครอบครัว มารดาบิดา ให้มีความสุข

.

๒.การใช้ทรัพย์ที่หามาได้นั้นเพื่อบำรุงเลี้ยงมิตรสหายผู้ร่วมกิจการงานให้เป็นสุข

.

๓.การใช้ทรัพย์เพื่อป้องกันภยันตรายต่างๆ

.

๔.การสละทรัพย์เพื่อการบำรุงสงเคราะห์ ๕ อย่าง ได้แก่

.

-อติถิพลี ใช้ต้อนรับแขก คนที่ไปมาหาสู่

-ญาติพลี ใช้สงเคราะห์ญาติ

-ราชพลี ใช้บำรุงราชการด้วยการเสียภาษีอากร เป็นต้น

-เทวตาพลี คือใช้สงเคราะห์ตามขนบธรรมเนียมของสังคม

-ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้แก่บุพการีที่ล่วงลับไปแล้ว

.

๕.บำรุงสมณพราหมณ์ คือ พระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ผู้ที่ดำรงธรรมไว้ให้แก่สังคม

.

ดังนั้น กล่าวโดยสรุปแล้ว พระพุทธศาสนาไม่ได้สอนให้คนจน แต่สอนให้คนรู้จักตั้งตนตั้งฐานะให้รวยอย่างสุจริต อันเป็นการทำประโยชน์ในชาตินี้ให้สมบูรณ์

.

.

ซึ่งวิธีแก้ความยากจนก็คือใช้แนวคิดของอริยสัจ๔มาแก้ไข

.

อริยสัจ4 ประกอบด้วย

.

๑. ทุกข์ คือ ความทุกข์ เป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา

.

ต้องรู้ตนว่า ปัญหาคืออะไร? (Problem?)

.

เช่น ปัญหาคือ ชีวิตยังลำบาก ยังเหนื่อย

.

๒. สมุทัย คือ มูลเหตุหรือต้นเหตุแห่งทุกข์

.

อะไรคือสาเหตุแห่งปัญหานั้น? (Insight ?)

.

เช่น มาจากเงินเดือนที่น้อยเกินไป มาจากหนี้สิน เป็นต้น

.

๓. นิโรธ คือ สิ่งที่ใช้ดับทุกข์ (Solution)

.

เลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

.

เช่น สร้างธุรกิจของตนที่มีรายได้สูงกว่าเงินเดือนปัจจุบัน หรือพัฒนาตัวเองให้มีคุณภาพจนสามารถหางานในตำแหน่งที่สูงยิ่งๆขึ้นไปได้

.

๔. มรรค คือ แนวทางแห่งการดับทุกข์

.

หากระบวนการและวิธีการแก้ปัญหา (How To)

.

เช่น ไขว่คว้าหาอาชีพที่ใช่สำหรับตน ที่สามารถตอบโจทย์ให้คุณหลุดพ้นจากความลำบากได้ เมื่อคุณเจออาชีพที่ใช่แล้ว ต่อมาให้มาดูว่า คุณต้องทำอะไรบ้าง นั้นคือสกิลด้านอาชีพ ต้องมีความรู้เสริมด้านใด กระบวนการขั้นตอนอย่างไร วางแผนลงมือปฏิบัติอย่างไร เมื่อค้นเจอจนครบกระบวนการ ก็ลงมือทำตามแผน เพื่อไปสู่หนทางการดับทุกข์ให้จงได้

.

อันนี้เป็นตัวอย่างแบบคร่าวๆ ซึ่งผมมีเขียนเรื่องอริยสัจ๔ไว้ในฉบับเต็ม ซึ่งสามารถค้นหาดูได้จากเพจนี้ได้เลย

.

นอกจากหนทางการดับความทุกข์ด้วยอริยสัจ๔แล้ว พระพุทธองค์ยังทรงมอบอีก1วิธี ที่จะทำให้พ้นจากความยากจนได้คือ

.

ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๔ อย่าง บ้างเรียกว่า หัวใจเศรษฐี “อุ อา กะ สะ” อันมี๔ อย่างดังนี้

.

๑) อุฏฐานสัมปทา (อุ) “ต้องขยันหาทรัพย์” ถึงพร้อมด้วยความหมั่น เช่นขยันหมั่นเพียร เลี้ยงชีพด้วยการหมั่นประกอบการงาน เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องสอดส่อง ให้สามารถทำได้สำเร็จ

.

จะเห็นว่า จากการขยายความของพระองค์ การขยันหมั่นเพียรอย่างเดียวไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ แต่ต้องมีปัญญามาสอดส่องด้วยว่า ความเพียรกับสิ่งนั้นสามารถทำให้มั่งคั่งได้จริงหรือ เพราะถ้าไม่จริงก็หมายถึง ขยันผิดที่อีก10ปีก็ไม่รวย ฉะนั้นจึงไม่แปลกเลยถ้าวันนี้คุณบอกว่าคุณขยันทำงานจนสุดชีวิตทำไมไม่สำเร็จสักที นั่นเป็นเพราะว่าคุณกำลังขยันผิดที่ผิดทางนั่นเอง

.

๒) อารักขสัมปทา (อา) “ต้องขยันเก็บทรัพย์สิน” ถึงพร้อมด้วยการรักษาโภคทรัพย์ รู้จักเก็บหอมรอมริบ และสามารถเก็บรักษาคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้นไว้ได้พร้อมมูล ไม่ให้ถูกลัก หรือทำลายไปโดยภัยต่างๆ

.

หมายถึง ต้องรู้จักเก็บรักษาปกป้องทรัพย์ไม่ให้สูญหาย อาจด้วยการทำหลักประกัน ซื้อกล้องวงจรปิดมาติด ระวังการถูกหลอกลวง จากมิจฉาชีพ แก๊งต้มตุ๋นและโจรขโมยต่างๆ

.

๓) กัลยาณมิตตตา (กะ) “ต้องเลือกคบเพื่อนที่ดี” คบคนดีที่ทำให้ก้าวหน้า ไม่คบคนชั่ว

.

คือคบเพื่อนที่ช่วยส่งเสริมให้ชีวิตดีขึ้น ไม่ใช่เพื่อนที่ฉุดรั้งให้ต่ำลง นั้นคือการสร้าง Connection มีเพื่อนที่สามารถช่วยแนะนำ เพื่อต่อยอดทางธุรกิจให้กับคุณได้ หรือเพื่อนที่คอยช่วยตักเตือนคุณยามคุณทำผิด

.

๔) สมชีวิตา (สะ) “ต้องเลือกใช้อย่างคุ้มค่า” อยู่อย่างพอประมาณ รู้ทางเจริญทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้สุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือยนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้จะต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายจะต้องไม่เหนือรายได้

.

.

และนี่คือหัวใจเศรษฐี จะเห็นว่าต่อให้คุณมีคาถามหาเศรษฐีสวดอยู่ทุกค่ำคืน ก็ไร้ซึ่งประโยชน์ ต่อให้คุณสวดไปจนตายก็ไม่มีทางที่จะทำให้คุณรวยขึ้นมาได้ จนกว่าคุณจะลุกขึ้นมาลงมือทำอย่างหมั่นเพียรด้วยปัญญา นั่นละโอกาสการเป็น”เศรษฐี”จึงพร้อมเปิดทางให้กับคุณ

.

ณวันนี้ ศาสนากำลังถูกบิดเบือน กลายเป็นค่านิยมแบบผิดๆ ผู้คนส่วนใหญ่เข้าวัดทำบุญเพื่อหวังบุญกุศลหนุนให้รวย เข้าวัดแล้วคิดว่าทำให้โชคดีล้างซวยได้ ซึ่งผิดจากคำสอนของพระองค์ที่สอนให้คนเกิดปัญญา 

.

ซึ่งความศรัทธาจะต้องมีปัญญามาสแกนด้วยเสมอ จึงเป็นศรัทธาที่บริสุทธ์ แต่หากศรัทธาโดยขาดปัญญาขาดเหตุและผลประกอบเรียกว่า”ความงมงาย” 

.

โดยผู้คนส่วนใหญ่มองข้ามแก่นหลักของคำสอนกันไปหมด การไหว้พระขอพรไม่ก่อให้เกิดความร่ำรวยได้ แต่หากอยากจะรวย ก็ให้ทำตามคำสอนของพระองค์ด้วยหลักของเหตุและผล นั่นคือหากอยากสำเร็จ ต้องสร้างกระบวนการสู่ความสำเร็จขึ้นมา 

.

เพราะทุกสิ่งต้องมีที่มาที่ไปเสมอ นั่นคือ

.

เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี

เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี

เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้ก็ดับ

.

นี่คือสิ่งที่เรียกว่า”กฏแห่งธรรมชาติ” หรือธรรมะ คำว่า “ธรรมะก็คือกฏแห่งธรรมชาติ กฏแห่งความสมเหตุสมผลนั่นเอง”

.

ซึ่งคนที่ไม่สามารถเข้าใจกฏของธรรมชาติ พระองค์เรียกว่า ผู้ที่ยังคงจมอยู่กับอวิชชา นั่นคือผู้ที่ไม่สามารถรู้กฏความเป็นไปของธรรมชาติได้ 

.

ฉะนั้นการขอพรไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ แต่หากอยากสำเร็จต้องสร้างกระบวนการที่สามารถนำพาไปสู่ความสำเร็จให้เกิดขึ้นมาเท่านั้น ซึ่งพระองค์ก็สอนไว้ชัดเจน ในอริยสัจ4 

.

ฉะนั้นขอให้เชื่อมั่น ยึดมั่นในแก่นหลักธรรมคำสอนเป็นหลักแลัวนำมาประยุกต์ใช้จริงกับชีวิตให้ได้ หากทุกคนทำได้ ศาสนาพุทธก็จะยั่งยืนสืบไปตราบนานเท่านาน 

.

บทความนี้อย่าให้เป็นเพียงแค่รู้ไว้ประดับหัว แต่ให้นำไปใช้ด้วยการ

.

“ลงมือทำทันที”

.

.

.

เนื้อหาโดย AcTioN

AcTioN Taywagorn

AcTioN Taywagorn

ผู้เขียนบทความ

“ทุกสิ่งทุกกอย่าง ในโลกนี้ย่อมมีการบ่งบอกความหมายในตัวของมันเสมอ อยู่ที่คุณจะตีความมันออกมาในรูปแบบไหน”

Popular Courses

content marketing ฿12,900.00 ฿4,990.00 AcTioN AcTioN

Content Marketing

117 0 ฿12,900.00 ฿4,990.00 AcTioN AcTioN

ดิจิตอล360องศา ปั้นธุรกิจจาก0สู่100

56 0 ฿12,990.00 ฿4,990.00 AcTioN AcTioN

คอร์ส “เซียนธุรกิจ360องศา O2O

79 0 ฿5,990.00 ฿1,990.00 AcTioN AcTioN

คอร์ส สร้างโฆษณามืออาชีพ ให้ยอดขายกระจุย

260 0 ฿2,900.00 ฿900.00 AcTioN AcTioN

คอร์สสอนตัดต่อวีดีโอให้ปังจนใครๆก็อยากแชร์

458 0 ฿7,990.00 ฿2,990.00 AcTioN AcTioN

Web Design & SEO

221 0 ฿4,990.00 ฿1,990.00 AcTioN AcTioN

คอร์สสอนนำเข้า ส่งออกสินค้า

76 0

บทความ แนะนำ

ความรู้ที่พร้อมเสริฟให้คุณ